หนี้ครัวเรือนไทย

หนี้ครัวเรือนไทย ต้องมีแนวทางแก้ให้ยั่งยืนมากที่สุด หลังเจอวิกฤติซ้อนวิกฤติ

หนี้ครัวเรือนไทย เรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่อยู่ท่ามกลางวิกฤติเลยทีเดียว เนื่องจากว่าเป็นช่วงที่วิกฤตของการแพร่ระบาดโควิดและการเพิ่มขึ้นมาของอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น โดยได้มีการซ้ำเติมกับคนไทยอย่างมาก ทำให้ในขณะนี้ต้องอยู่ในช่วงที่เปราะบาง ถึงจะเริ่มดีขึ้นแล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ของไทยในตอนนี้ยังมีการฟื้นตัวที่ช้าอยู่ แล้วไม่พอเท่านั้นยังมีความไม่เท่าเทียมเกิดขึ้นมาด้วย มาติดตามรายละเอียดกันได้เลย

ติดตามรายละเอียด หนี้ครัวเรือนไทย

หนี้ครัวเรือนไทย

ในส่วนของรายละเอียดนั้น พบว่าแรงงานไทยส่วนหนึ่ง ถึงรายได้จะเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ก็ยังไม่พอ เนื่องจากว่าค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้วมีความรวดเร็วอย่างมาก ทำให้ทางสัดส่วนของหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ในช่วงก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

ที่มีการเพิ่มขึ้นมาอย่างน่าเป็นห่วง โดยพบว่าแตะในจุดที่ 90 เปอร์เซ็นต์แล้วต่อจีดีพี ในช่วงไตรมาสที่ 1 ในปี 64 ที่ผ่านมา แล้วจะเริ่มลดลงมาเรื่อย ๆ อยู่ที่ 88.3 เปอร์เซ็นต์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 65 นี้

หนี้ครัวเรือนไทย

ทั้งนี้การที่ลดลงของหนี้ครัวเรือนในประเทศไทย เป็นเพียงแค่การลดลงของสัดส่วนในหนี้ต่อจีดีพี แต่เมื่อมีการดูถึงมูลหนี้ที่แท้จริงแล้ว พบว่ายังคงเพิ่มขึ้นมาต่อเนื่อง ในช่วงไตรมาสที่ 2 ได้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ในปี 64 ที่ผ่านมา โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทยที่ยังมีการพบว่าในธุรกิจขนาดกลางและในส่วนของเอสเอ็มอี รวมไปถึงในภาคครัวเรือนที่มีรายได้น้อย จะมีปัญหาในการผ่อนหนี้ส่งแล้ว เนื่องจากว่าค่างวดในการเริ่มขาดส่งมีมากขึ้น 

หนี้ครัวเรือนไทย

รายได้ไม่พอรายจ่าย เกิดปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยในความเป็นจริงแล้วสินเชื่อจะช่วยทำให้ในภาคครัวเรือนได้มีโอกาสที่จะนำเงินในอนาคตมาใช้เพื่อการลงทุนในการสร้างรายได้ หรือเป็นการที่ชดเชยรายได้ที่มีการขาดหายไปในช่วงที่เศรษฐกิจมีความย่ำแย่ แต่ติดที่ว่าปัญหาอยู่ตรงที่สินเชื่อไทยไม่ได้มีการสร้างโอกาสหรือมีการป้องกันความเสี่ยงให้ได้เต็มที่ หนี้ครัวเรือนไทย เป็นประเด็นที่เรียกได้ว่าต้องมีการติดตามกันต่อไป ว่าจะมีการแก้ปัญหากันอย่างไร เพื่อให้รายได้เพียงพอต่อการใช้จ่ายในแต่ละวันได้

ติดตาม ข่าวสารบ้านเมือง ข่าวเด่นประเด็นร้อนและ ข่าวต่างประเทศ มาให้คุณอัพเดททันเหตุการณ์